การเริ่มต้นธุรกิจ การประเมินโอกาสของธุรกิจใหม่ การวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า การนำเสนอคุณค่าของผลผลิตและผลิตภัณฑ์ การจัดทำแผนธุรกิจ กรอบแนวคิดและเครื่องมือทางการบริหารจัดการธุรกิจเกษตร

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคพืช สาเหตุโรคพืช กระบวนการเกิดโรคพืช ลักษณะอาการของพืชที่เป็นโรค นิเวศวิทยาของเชื้อสาเหตุโรคพืช การวินิจฉัยโรคพืช การควบคุมโรคพืช


              การวางแผนและผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ และผักอินทรีย์ เพื่อการบริโภคสด  แปรรูป และผลิตเมล็ดพันธุ์ ตั้งแต่การผลิต วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว การตลาด การเงิน การบัญชี การประยุกต์นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการควบคุมฟาร์ม การประเมินฟาร์ม และการรับรองผลผลิตผักตามมาตรฐานการผลิตในระดับสากล

วิช่าวิทยาศาสตรืทางดินเป็นวิชาพื้นฐานในการศึกษาทางด้านปฐพีวิทยา

ความสำคัญของการขยายพันธุ์พืช การขยายพันธุ์พืชแบบใช้เพศและไม่ใช้เพศ การใช้สารในการขยายพันธุ์พืช ปัจจัยสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีของการขยายพันธุ์พืช สรีรวิทยาของการขยายพันธุ์พืชแบบไม่ใช้เพศ


การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติละข้อมูลจากการทดลอง การแปลความหมายและการแปลผลที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป


การเขียนโครงการวิจัย สถิติและการวางแผนการทดลอง เทคนิคการทดลองทางพืชศาสตร์ การวิเคราะห์ผลและแปลความหมายผลการทดลอง การเขียนรายงานผลการทดลองและการนำเสนอ


ความหมายและวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงพันธุ์พืชแหล่งกำเนิดของพืช วิธีการสืบพันธุ์ของพืช ลักษณะทางคุณภาพและปริมาณวิธีการปรับปรุงพันธุ์พืชผสมตัวเองและผสมข้าม การปรับปรุงพันธุ์ลูกผสม การปรับปรุงประชากรพืช การกลายพันธุ์ของพืช การปรับปรุงพันธุ์ให้ต้านทานโรค แมลงและสภาพแวดล้อม การผสมพันธุ์ผสมตัวเองและพืชผสมข้ามบางชนิด การดำเนินการเกี่ยวกับพันธุ์พืช

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจความสำคัญของการผลิตพืชที่มีต่อมนุษย์และระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการและการเจริญเติบโต การดูแลรักษาตลอดระยะเวลาการเพาะปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิตหรือเมล็ดพันธุ์ สามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับพืชปลูกแต่ละชนิด

ความหมาย ความสำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพ เทคนิคเบื้องต้นที่ใช้ในเทคโนโลยีชีวภาพทางพืช ได้แก่ การเพาะเลี้ยงเซลล์ เนื้อเยื่อและอวัยวะ การเลี้ยงและการรวมโปรโตพลาสต์และเทคนิคทางพันธุวิศวกรรม  การใช้เทคนิคทางชีวโมเลกุลสำหรับการปรับปรุงพันธุ์พืช การตรวจสอบสายพันธุ์และศึกษาความแปรปรวนทางพันธุกรรมพืช

วิชาพืชพลังงานมีวัตถุประสงค์ของรายวิชาเพื่อให้นักศึกษาทราบถึงสถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบัน และมองเห็นความสำคัญของการนำพืชบางชนิดมาใช้ประโยชน์ในด้านพลังงาน รู้จักกับพืชที่ได้รับความสนใจในการนำมาใช้ผลิตพลังงานเพื่อทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่เป็นแหล่งพลังงานจากฟอสซิล รวมทั้งทราบระบบการผลิตพืชพลังงานในเชิงพาณิชย์ เข้าใจกระบวนการนำวัตถุดิบจากพืชมาแปรรูปเป็นพลังงาน ตลอดจนทราบคุณลักษณะที่ดีของวัตถุดิบจากพืชดังกล่าว ในการนำมาแปรรูปเป็นพลังงานทดแทน

ความหมายและวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงพันธุ์พืช แหล่งกำเนิดของพืช วิธีการสืบพันธุ์ของพืช ลักษณะทางคุณภาพและปริมาณ วิธีการปรับปรุงพันธุ์พืชผสมตัวเองและผสมข้าม ปรับปรุงพันธุ์ลูกผสม การปรับปรุงประชากรพืช การกลายพันธุ์ของพืช การปรับปรุงพันธุ์ให้ต้านทานโรค แมลงและสภาพแวดล้อม การผสมพันธุ์ผสมตัวเองและพืชผสมข้ามบางชนิด การดำเนินการเกี่ยวกับพันธุ์พืช

        หลักการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตร การติดต่อสื่อสารเพื่อการถ่ายทอดเทคโนโลยี

        การวางแผนและประเมินผล การส่งเสริมแบบยั่งยืน สารสนเทศและเทคโนโลยีทางการเกษตร      

        กระบวนการยอมรับนวัตกรรมของกลุ่มเป้าหมาย วิธีการใช้สื่อในการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการ

        เกษตร


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยเชิงทดลอง ความหมาย ชนิด และ หลักการของแผนการทดลอง การเปรียบเทียบสองตัวแทน หลักการวางแผนการทดลอง แผนการทดลองพื้นฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย เทคนิคการทดลองในแปลงปลูก การทดลองแบบหลายปัจจัย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และรีเกรสชั่น

สัณฐานวิทยาแมลง วงจรชีวิตและการพัฒนา สรีรวิทยา นิเวศวิทยา การเก็บตัวอย่าง การเก็บรักษา การจำแนกแมลงและการจัดหมวดหมู่ ความเสียหายเนื่องจากแมลงและการสำรวจความเสียหายและหลักการควบคุมแมลง

หลักการ และเทคนิคขั้นพื้นฐานของการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช การเตรียมห้องและเครื่องมือในการเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช องค์ประกอบของอาหารและวิธีเตรียมอาหาร การเลือกชิ้นส่วนพืชและการแยกเนื้อเยื่อพืช เทคนิคการย้ายและเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช การเจริญเติบโตของชิ้นส่วนพืชไปเป็นพืชต้นใหม่ การประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช